คู่มือสำหรับประชาชน : สำนักปลัดเทศบาล
     
   
 

 
 
 
 
เจ้าบ้าน คือ คนที่เป็นหัวหน้าครอบครองในบ้านหลังนั้น ซึ่งการครอบครองนี้อาจจะครอบครองในฐานะเป็นเจ้าของบ้านผู้เช่าบ้าน หรือฐานะอื่นก็ได้ คนที่เป็นเจ้าบ้านไม่อยู่ ตาย สูญหาย หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ คนที่ดูแลบ้าน หรือที่อยู่ในบ้านขณะนั้นเป็นเจ้าบ้าน หน้าที่ของเจ้าบ้าน กฎหมายทะเบียนราษฎร ได้กำหนดให้เจ้าบ้านมีหน้าที่ต้องแจ้งต่อนายทะเบียนในเรื่องต่อไปนี้ คือ • มีคนเกิดในบ้าน • มีคนตายในบ้าน • มีคนย้ายออก – ย้ายเข้ามาในบ้านหลังนั้น • มีการปลูกสร้างบ้านใหม่ หรือรื้อถอนบ้าน หากไม่แจ้งจะถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย คนที่ทำหน้าที่เป็นเจ้าบ้าน โดยปกติแล้วเมื่อมีการแจ้งต่อนายทะเบียน นายทะเบียนก็จะตรวจสอบดูว่าคนไปแจ้งนั้นเป็นเจ้าบ้านหรือไม่ โดยดูจาก • บัตรประจำตัวของคนแจ้งพร้อมทะเบียนบ้านที่นำไปแสดงว่าคนที่ไปแจ้งชื่อในทะเบียนบ้านและ ช่องรายการระบุว่าเป็น "เจ้าบ้าน" หรือไม่ • ถ้าไม่ใช่บุคคลตามข้อ 1 ก็ตรวจดูว่าคนที่ไปแจ้งมีชื่อปรากฏในทะเบียนบ้านนั้นหรือไม่ ถ้ามีก็จะมีการบันทึกปากคำไว้เป็นหลักฐานถึงสาเหตุที่ไปแจ้งแทนเจ้าบ้าน กรณีที่ผู้มีชื่อในทะเบียนบ้านเป็นผู้เยาว์หรือเสมือนไร้ความสามารถ ให้ผู้ปกครองตามกฎหมายเป็นผู้ทำหน้าที่แทน • แต่ถ้าบ้านหลังนั้นเป็นบ้านว่างไม่มีใครมีชื่อในทะเบียนบ้าน หากคนที่ครอบครองดูแลบ้านอยู่ขณะนั้นไปแจ้ง นายทะเบียนก็จะบันทึกปากคำไว้และดำเนินการรับแจ้งไว้เช่นกัน การมอบหมาย กรณีคนมีชื่อรายการในทะเบียนบ้านระบุว่าเป็นเจ้าบ้านไม่ได้ไปแจ้งด้วยตนเอง หรือไม่ได้ให้คนที่มีชื่อในทะเบียนบ้านเดียวกับคนแจ้งแต่มอบหมายให้บุคคลอื่นไปแจ้งแทน ก็จะต้องให้ผู้ที่ได้รับมอบ นำเอกสารดังต่อไปนี้ไปแสดงต่อนายทะเบียนด้วยคือ • บัตรประจำตัวหรือสำเนาบัตรประจำตัวของเจ้าบ้านผู้มอบหมาย ถ้าเป็นสำเนาผู้มอบหมายจะต้องเซ็นรับรองสำเนาไว้ด้วย • บัตรประจำตัวของผู้แจ้ง • สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของบ้าน • หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน ( ถ้ามี ) การแจ้งเกิด คนเกิดในบ้าน ให้เจ้าบ้านหรือบิดามารดา ( หรือผู้ได้รับมอบหมาย ) แจ้งต่อนายทะเบียนท้องถิ่น ภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิด การแจ้งเกิด ผู้แจ้งเกิด ควรดำเนินการดังนี้ • ให้แจ้งชื่อตัวของเด็กเกิดใหม่ พร้อมกับการแจ้งเกิดและแจ้งชื่อสกุลด้วย พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านที่จะเพิ่มชื่อเด็ก • แจ้งวัน, เดือน, ปี และสถานที่เกิด ถ้ามีหนังสือรับรองการเกิดจากสถานพยาบาลให้นำไปแสดงด้วย • แจ้งชื่อตัว, ชื่อสกุล, สัญชาติ และที่อยู่ของบิดาและมารดาของเด็ก • แจ้งชื่อตัว, ชื่อสกุล และที่อยู่ของผู้แจ้งการเกิด ตามหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้านพร้อมบัตรประจำตัวที่นำไปแสดง ( กรณีผู้แจ้งมิใช่บิดา- มารดา) หลักฐานที่นำไปแสดง • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน, บิดา, มารดา หรือผู้แจ้ง • สำเนาทะเบียนบ้าน • หนังสือรับรองการเกิดจากสถานพยาบาล ( ท.ร. 1/1 ) การแจ้งเกิดเกินกำหนด กรณีคนเกิด แต่ไม่ได้แจ้งการเกิดภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันเกิด ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
 
     
     
     
 
ประกาศเมื่อ 03 ธันวาคม 2567 เวลา 14:16 ผู้เขียนโดย admin
 
 
 
 
 
 
 
เทศบาลตำบลมะกอกเหนือ
ตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง 93150
โทรศัพท์ 0–7467–2291 / โทรสาร 0–7467–2292
Email: makoknuacity@hotmail.co.th , saraban_05930504@dla.go.th