|
การแจ้งตาย
แจ้งเมื่อมีคนตายในบ้าน
ให้เจ้าบ้านเป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งของท้องที่ที่มีคนตายภายใน 24 ชั่วโมง นับตั้งแต่เวลาตาย ในกรณีที่ไม่มีเจ้าบ้าน ให้ผู้พบศพแจ้งภายใน 24 ชั่วโมง นับตั้งแต่เวลาพบศพ
แจ้งเมื่อมีคนตายนอกบ้าน
ให้ผู้ที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพ เป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ ที่คนตายหรือผู้พบศพแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ภายใน 24 ชั่วโมง นับตั้งแต่เวลาตายหรือพบศพ ในกรณีนี้จะแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจก็ได้
การแจ้งตาย
ควรดำเนินการดังนี้
แจ้งชื่อตัว, ชื่อสกุล และที่อยู่ของผู้ตาย ตามหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้าน หรือบัตรประจำตัวประชาชนที่นำไปแสดง
แจ้งวัน, เดือน, ปี และสถานที่ตายพร้อมสาเหตุการตาย ถ้ามรหนังสือรับรองการตายจากสถานพยาบาลให้นำไปแสดงด้วย และถ้าทราบชื่อ- สกุล ของบิดา, มารดาของผู้ตายให้แจ้งต่อนายทะเบียนด้วย
แจ้งการดำเนินการเกี่ยวกับศพของผู้ตายด้วย จะเก็บ, ฝัง, เผา, ทำลาย หรือย้ายศพ ที่ไหน, เมื่อไร
แจ้งชื่อตัว, ชื่อสกุล และที่อยู่ของผู้แจ้งการตายตามหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้านหรือบัตรประจำตัวที่นำไปแสดง
หลักฐานที่นำไปแสดง
สำเนาทะเบียนบ้านหรือบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง
สำเนาทะเบียนบ้านหรือบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ตาย ( ถ้ามี )
หนังสือรับรองการตายจากสถานพยาบาล ( ท.ร. 4/1 )
การแจ้งตายเกินกำหนดเวลา
หมายถึง กรณีมีคนตายแต่ไม่ได้แจ้งการตายภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด กรณีนี้ให้ผู้แจ้งการตายยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนท้องถิ่นที่ที่มีการตายหรือพบศพ โดยดำเนินการดังนี้
เมื่อนายทะเบียนได้รับคำร้องแล้วจะตรวจสอบคำร้องและเอกสารที่ผู้แจ้งนำไปแสดง แล้วดำเนินการเปรียบเทียบคดีตามความผิดที่กฎหมายกำหนด
สอบสวนสาเหตุจากพยานบุคคล เพื่อให้ทราบถึงวัน, เดือน, ปีที่ตาย, สถานที่ตายและผู้เห็นเหตุการณ์ ตลอดจนสาเหตุที่ไม่แจ้งการตาย ภายในเวลาที่กำหนด
รวบรวมหลักฐานและพิจารณา เมื่อเห็นว่าเชื่อถือได้จะสั่งอนุญาตให้รับแจ้งเพื่อดำเนินการต่อไป
ผู้ใดไม่มาแจ้งการตายภายใน 24 ชั่วโมง นับตั้งแต่เวลาตายหรือพบศพ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท |
|